Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/21
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | คำพาง ศรีท้าวปากดี | - |
dc.date.accessioned | 2021-09-24T13:21:40Z | - |
dc.date.available | 2021-09-24T13:21:40Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/21 | - |
dc.description.abstract | ผลของการฝึกด้วยน้าหนักและการเคลื่อนที่ในลักษณะแรงระเบิดที่มีผลต่อความแข็งแรงพลัง ของกล้ามเนื้อและความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาแฮนด์บอล การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ 1). เพื่อ ศึกษาผลของการฝึกด้วยน้ำหนักและการเคลื่อนที่ในลักษณะแรงระเบิด ที่มีผลต่อความแข็งแรง พลังของกล้ามเนื้อและความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาแฮนด์บอลชาย 2). เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกด้วยน้ำหนักและการเคลื่อนที่ในลักษณะแรงระเบิด ที่มีผลต่อความแข็งแรงพลังของกล้ามเนื้อและความคล่องแคล่วว่องไว ระหว่างก่อนและหลังการฝึก 3). เพื่อเปรียบเทียบระหว่างผลการฝึกด้วยน้าหนักและการเคลื่อนที่ในลักษณะแรงระเบิด ที่มีผลต่อความแข็งแรง พลังของกล้ามเนื้อและความคล่องแคล่วว่องไว โดยใช้แบบทดสอบแรงเหยียดขาแบบทดสอบกระโดดสูง และความเร็วด้วยแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อแสดงลักษณะการแจกแจงของผลความแข็งแรง พลังของกล้ามและความคล่องแคล่วว่องไว ของกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของความแข็งแรง พลังของกล้ามเนื้อและความคล่องแคล่วว่องไว ของกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ผลการวิจัยพบว่า 1. การทดสอบด้วยแบบทดสอบแรงเหยียดขา กระโดดสูง ความคล่องแคล่วว่องไว โดยกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม มีความแข็งแรง พลังของกล้ามเนื้อและความคล่องแคล่วว่องไวดีขึ้นภายหลังการฝึก 2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยแบบทดสอบแรงเหยียดขาจากโปรแกรมการฝึกที่แตกต่างกันของกลุ่มทดลอง พบว่า โปรแกรมการฝึกที่ต่างกันโดยฝึกในระยะเวลาการฝึกที่แตกต่างกัน มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไม่แตกต่างกัน แต่โปรแกรมการฝึกที่ต่างกัน พบว่ามีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแตกต่างกัน 3. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยแบบทดสอบกระโดดสูง จากโปรแกรมการฝึกที่แตกต่างกันของกลุ่มทดลอง พบว่า โปรแกรมการฝึกที่ต่างกัน ฝึกในระยะเวลาการฝึกที่ต่างกัน มีพลังของกล้ามเนื้อไม่แตกต่างกัน แต่โปรแกรมการฝึกที่ต่างกัน ทำให้มีพลังของกล้ามเนื้อต่างกัน และระยะเวลาการฝึกที่ต่างกัน ทำให้มีพลังของกล้ามเนื้อต่างกัน 4. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยแบบทดสอบความคล่องแคล่ว ว่องไว จากโปรแกรมการฝึกที่แตกต่างกันของกลุ่มทดลอง พบว่า โปรแกรมการฝึกที่ต่างกัน ฝึกในระยะเวลาการฝึกที่ต่างกัน ส่งผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวไม่แตกต่างกัน แต่ระยะเวลาการฝึกที่ต่างกัน ท้าให้มีความคล่องแคล่วว่องไวต่างกัน | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม | en_US |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International | - |
dc.rights.uri | http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | - |
dc.title | ผลของการฝึกด้วยน้ำหนักและการเคลื่อนที่ในลักษณะแรงระเบิดที่มีผลต่อความแข็งแรง พลังของกล้ามเนื้อและความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาแฮนด์บอล สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม | en_US |
dc.type | Research | en_US |
Appears in Collections: | รายงานการวิจัย |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kumpang_Sritowpakdee_res_2556.pdf | 688.38 kB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License