Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/59
Title: | การสังเคราะห์กรอบกิจกรรมทางพลศึกษาโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษา เขตการศึกษาที่ 1 จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้เทคนิคเดลฟาย |
Authors: | ทวีสุข โภคทรัพย์ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม |
Abstract: | การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการสังเคราะห์กรอบกิจกรรมทางพลศึกษาโครงการลด เวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษา เขตการศึกษาที่ 1 จังหวัดมหาสารคาม โดย ใช้เทคนิคเดลฟาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ 1) การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อกำหนดขอบข่ายและรายละเอียดของกรอบกิจกรรมทางพลศึกษา โดยการสังเคราะห์เนื้อหาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 19 คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก 2) เครื่องมือวิจัย EDFR รอบที่ 2 และรอบที่ 3 เป็น แบบสอบถามแนวโน้มของกิจกรรมทางพลศึกษาและนันทนาการตามโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ระดับประถมศึกษา แบ่งเป็น 2 ด้าน จำนวน 21 ข้อ ชนิดมาตรประมาณค่า (rating scales) 5 ระดับ และคำถามเกี่ยวกับภาพอนาคตที่พึงประสงค์ แบบสอบถาม EDFR รอบที่ 2 ใด้ผ่านการตรวจสอบ ความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนด้วยการหาค่า ioc (The Index Of Item-Objective Congruence) โดยผู้วิจัยพิจารณาคัดเลือกข้อความที่มีค่า ioc ตั้งแต่ 0.6 นำแบบสอบถาม EDFR รอบที่ 2 ดังกล่าวไปเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ 19 คน และนำกลับมาวิเคราะห์หาค่ามัธยฐาน (median) ค่าฐานนิยม (mode) และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ (interquartile range) พร้อมกันนั้น นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach's Alpha) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87 ได้เป็นแบบสลบถาม EDFR รอบที่ 3 การรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการสอบถาม ความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวขาญ 21 คนด้วยเทคนิคเดลฟาย 2 รอบ เพื่อศึกษาแนวโน้มที่มีความเป็นไปได้ มีภาพอนาคตที่พึงประสงค์ และกลุ่มผู้เชี่ยวขาญมีความเห็นสอดคล้องกัน หาฉันทามติ (Consensus) ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยการคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลไปทำนายแนวโน้ม ผลการวิจัยพบว่า กรอบกิจกรรมทางพลศึกษาด้านการออกกำลังกายประกอบด้วย จำนวน 5 แนวโน้ม ได้แก่ 1) การออกกำลังกายระบบกล้ามเนื้อกล้ามเนื้อจะมีการเจริญเติบโตขึ้น 2) ระบบโครงร่าง ในขณะออกกำลังกายกระดูกจะถูกดึง ถูกบีบจากแรงกล้ามเนื้อ 3) ระบบไหลเวียนโลหิตและ ระบบหายใจ การออกกำลังกายเป็นประจำทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะผลทำให้เป็นคนที่มีบุคลิกที่มั่นคงสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีสามารถปรับตัวเมื่อได้รับความเครียดได้ดี มีความ ฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ที่ในระดับดี 5) การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความมีวุฒิภาวะทางสังคม มีความฉลาดทางสังคม เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นกิจกกรมที่ส่งเสริมให้คนมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น จนนำไปสู่การพัฒนาทักษะทางสังคมที่ดี กรอบกิจกรรมนันทนาการ จำนวน 11 แนวโน้ม 1) กิจกรรม นันทนาการศิลปหัตถกรรม 2) กิจกรรมนันทนาการเกมและกีฬา 3) กิจกรรมนันทนาการงานอดิเรก 4) กิจกรรมนันทนาการดนตรีและการร้องเพลง 5) กิจกรรมนันทนาการการเต้นรำ การฟ้อนรำและกิจกรรมเข้าจังหวะ 6) กิจกรรมนันทนาการการแสดงละครและภาพยนตร์ 7) กิจกรรมนันทนาการนอกสถานที่ 8) กิจกรรมนันทนาการการเขียนและการพูด 9) กิจกรรมนันทนาการทางสังคม 10) กิจกรรมนันทนาการพิเศษ 11) กิจกรรมนันทนาการอาสาสมัคร |
URI: | https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/59 |
Appears in Collections: | รายงานการวิจัย |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thaweesuk_Pooksap_res_2560.pdf Restricted Access | 3.5 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
This item is licensed under a Creative Commons License