Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/61
Title: ตัวบ่งชี้ทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม: การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง
Other Titles: Indicators of student skills in the 21st Century Institute Education Physical Mahasarakham Campus: A development of Structural Relationship Model
Authors: สุชิลา สวัสดี
Issue Date: 2562
Publisher: สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม
Abstract: ตัวบ่งชี้ทักษะของนักคึกษาในศตวรรษที่ 21 สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม: การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง ในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ 2) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลตัวบ่งชี้ทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม ตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 450 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพัฒนากรอบความคิดในการวิจัย แบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีค่าความตรงเท่ากับ 0.940 การ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอ้างอิงได้แก่ ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ความเบั ความโด่ง สัมประสิทธิ์การกระจาย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่าได้ตัวบ่งชี้ จำนวน 13 ตัว บ่งชี้โดยจำแนกตามองค์ประกอบได้ดังนี้ ด้านทักษะชีวิตและการทำงาน จำนวน 5 ตัวบ่งชี้คือ การริเริ่มสร้างสรรค์และการกำกับดูแลตนเองความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม และการเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิตที่ รับผิดขอบตรวจสอบได้ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.771 ถึง 0.910 ด้านทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้คือ ความเข้าใจและสามารถใช้เทคโนโลยี ความเข้าใจและ สามารถใช้สื่อ เลือกใช้สารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม และความเข้าใจและสามารถ ใช้สารสนเทศ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.942 ถึง 0.974 และด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม จำนวน 4 ตัวบ่งชี้คือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสารและการร่วมมือ ทักษะการพึ่งพาตนเองในการเรียนรู้และการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ค่าน้ำหนัก องค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.890 ถึง 0.909 2. โมเดลตัวบ่งชี้ทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคามมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่า x2 = 47.93; p = 0.35; df = 45; GFI = 0.98; AGFI = 0.97; RMSEA = 0.012; RMR = 0.022
URI: https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/61
Appears in Collections:รายงานการวิจัย

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sushila_Sawassdee_ab_2562.pdf
  Restricted Access
607.44 kBAdobe PDFView/Open Request a copy


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons