Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/6
Title: | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณในรายวิชาภาษาและวัฒนธรรมสำหรับครูของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม |
Other Titles: | The Development of Instructional Model for the Enhancement of Critical Thinking Skills in Language and Cultural for teacher Subject of three level students in Education Faculty Physical Education Institute in Mahasarakham Campus |
Authors: | สุชิลา สวัสดี |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม |
Abstract: | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณในรายวิชาภาษาและวัฒนธรรมสำหรับครู ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิจารณญาณ และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิจารณญาณ ในรายวิชาในรายวิชาภาษาและวัฒนธรรมสำหรับครูของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม ขั้นตอนดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน คือ 1. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2. พัฒนารูป แบบการจัดการเรียนรู้ และ 3. เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา กศ013008 ภาษาและวัฒนธรรมสำหรับครู ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2559 จำนวน 110 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างมีระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณแบบสอบถามเจตคติต่อการเรียน และรูปแบบการจัดการ เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 และสถิติทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ความสามารถในการพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลและการสังเกต (2) ความสามารถใน การนิรนัย (3) ความสามารถในการอุปนัย และ (4) ความสามารถในการระบุข้อตกลงเบื้องต้น 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ 14 แผนการจัดการเรียนการสอน มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้น กระตุ้นความสนใจ จากทักษะชีวิต (Life skills) ขั้นตอนที่ 2 ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของการคิด (Objectives) ขั้นตอนที่ 3 ขั้นเห็นคุณค่า (Value) ขั้นตอนที่ 4 ขั้นการประเมินผล (Evaluation) มีคะแนนประสิทธิภาพเท่ากับ 89.38 / 92.14 แสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพ ผ่านเกณฑ์ 80/80 ตามที่กำหนดไว้ มีคะแนนการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ แต่ละหน่วยการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมากขึ้นไป มีค่าเฉลี่ย 3.49 – 4.50 3. ผลของการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า หลังการเรียนแล้ว กลุ่มทดลองมีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และกลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/6 |
Appears in Collections: | รายงานการวิจัย |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sushila_Sawassdee_res_2560.pdf Restricted Access | 2 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
This item is licensed under a Creative Commons License