กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/33
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา ในวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สอดคล้องกับสังคมแห่งการเรียนรู้ไทยแลนด์ 4.0 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุชิลา สวัสดี |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม |
บทคัดย่อ: | การพัฒนารูปแบบความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา ในวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สอดคล้องกับสังคมแห่งการเรียนรู้ไทยแลนด์ 4.0 มี วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบความเป็นครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา ในวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สอดคล้องกับสังคมแห่งการเรียนรู้ไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน โดยผู้วิจัยให้ความสำคัญกับการวิจัยเอกสารใน ขั้นตอนที่ 1 คือ ศึกษาคุณลักษณะของครูภายใต้สังคมแห่งการเรียนรู้ไทยแลนด์ 4.0 และกระบวนการพัฒนารูปแบบครูภายใต้สังคมแห่งการเรียนรู้ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อนามาเป็นสารสนเทศสำคัญประกอบการตัดสินใจในการยกร่างรูปแบบความเป็นครูฯ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบความเป็นครูฯในเบื้องต้นดาเนินการประเมินความเหมาะสมและความครอบคุลมด้านกรอบแนวคิดทฤษฎีและคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน แล้วนามาปรับปรุงแก้ไข จากนั้นนำร่างรูปแบบที่ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 ท่านประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จากนั้นนำไปให้คณาจารย์สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา ในวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 50 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้และประเมินความเป็นไปได้/ความมีประโยชน์ของรูปแบบความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา ในวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สอดคล้องกับสังคมแห่งการเรียนรู้ไทยแลนด์ 4.0 มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบความเป็นครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา ในวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สอดคล้องกับสังคมแห่งการเรียนรู้ไทยแลนด์ 4.0 โดยการทดลองใช้รูปแบบความเป็นครูเพื่อกระตุ้นจิตวิญญาณความเป็นครูโดยใช้กิจกรรมเสริมความเป็นครูแบบจิตตปัญญาศึกษา กับกลุ่มทดลองคือ นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม จำนวน 100 คน ที่ได้มาโดยการกำหนดโควตา (Quota Sampling) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสังเคราะห์เนื้อหาจากผลงานการเข้าร่วม กิจกรรม การสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ (Reflection) ทุกกิจกรรม และประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสะท้อนสิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมตามกระบวนการ AAR (After Action Review)หลังจากได้รูปแบบนำไปประเมินความเป็นไปได้/ความมีประโยชน์จากการนำไปใช้ โดยบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา ในวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 40 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. คุณลักษณะครูในสังคมแห่งการเรียนไทยแลนด์ 4.0 แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านที่ด้านความรู้ความสามารถในสาขาวิชา ประกอบด้วย 6 คุณลักษณะย่อย ได้แก่ 1) มีความรู้ความ เชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชา 2) มีเทคนิค วิธีการถ่ายทอดความรู้ที่หลากหลาย 3) มีทักษะการคำนวณ 4) มีความสามารถในการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย 5) รู้จักและเข้าใจผู้เรียน และ6) มีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตร จัดทาแหนการสอน กิจกรรม และการประเมินผลที่สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างผู้เรียน ด้านที่ 2 ด้านการปฏิบัติตนและเห็นคุณค่าวิชาชีพครู ประกอบด้วย 7คุณลักษณะย่อย คือ 1) เป็นผู้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ 2) มีสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลทำงานเป็นทีมได้ 3) เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ 4) เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ 5) รักและศรัทธาในวิชาชีพครู 6) เป็นผู้มีภาวะผู้นาทางวิชาการ และ 7) ปฏิบัติตามนโยบาย ของหน่วยงาน และด้านที่ 3 ด้านสังคมพหุวัฒนธรรม ประกอบด้วย 5 คุณลักษณะย่อย ได้แก่ 1) มีความสามารถด้านการใช้ภาษา/การสื่อสาร 2) เป็นผู้เลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม 3) เป็นผู้รอบรู้ เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทันสมัยทันเหตุการณ์ 4) มีความคิด และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และ 5) มีความสามารถในการบริหารจัดการ 2. ผลการพัฒนารูปแบบความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา ในวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สอดคล้องกับสังคมแห่งการเรียนรู้ไทยแลนด์ 4.0 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเป็นมาของรูปแบบ แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ และการวัดประเมินผลเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูภายใต้สังคมแห่งการเรียนรู้ไทยแลนด์ 4.0 ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (Md.=4.35) สำหรับผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ โดยคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา ในวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการประเมินพบว่ารูปแบบความเป็นครูมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( X =4.25) 3. ผลการทดลองใช้การประเมินความเป็นไปได้/ความมีประโยชน์ของรูปแบบความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา ในวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สอดคล้องกับสังคมแห่งการเรียนรู้ไทยแลนด์ 4.0 ในการทดลองใช้รูปแบบความเป็นครูผ่านกิจกรรมเสริมความเป็นครูแบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อกระตุ้นจิตวิญญาณความเป็นครูตามคุณลักษณะครูภายใต้สังคมแห่งการเรียนรู้ไทยแลนด์ 4.0 พบว่านักศึกษามีความพร้อม และมีความมั่นใจ ตระหนักถึงความเป็นครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูภายใต้สังคมแห่งการเรียนรู้ไทยแลนด์4.0 ด้วยกระบวนการประเมินสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ (Reflection) และการเขียนอิสระ (Free Writing) ข้อมูลที่ได้นำมาสังเคราะห์เชิงเนื้อหาของผลการทดลอง ผลการประเมินความเป็นไปได้/ความมีประโยชน์ของรูปแบบโดยบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา ในวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 40 พบว่า รูปแบบความเป็นครูฯ มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ( X =4.05) และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก ( X =4.22) |
URI: | https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/33 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Sushila_Sawassdee_res_2561.pdf Restricted Access | 3.15 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด Request a copy |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License