กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/55
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการศึกษาของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศุภรินทร์ วงชารี ประวิทย์ หวานขม กรรณิกา พิเคราะห์ฤกษ์ |
คำสำคัญ: | แรงจูงใจของนักศึกษา แรงจูงใจในการศึกษา ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจในการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2012 |
สำนักพิมพ์: | สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแรงจูงใจในการศึกษาของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา และเพื่อพัฒนาโมเดลปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการศึกษาของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสถาบันการพลศึกษา ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 850 คน โดยได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดแรงจูงใจในการศึกษา แบบวัดการมุ่งอนาคต แบบวัดความรับผิดชอบ แบบวัดความสัมพันธ์ทางสังคม และแบบวัดบรรยากาศในชั้นเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) และโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) ผลการสำรวจพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันแรงจูงใจในการศึกษา พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 0 df = 0 p = 0 CFI = 1.000 TLI = 1.000 RMSEA = 0 SRMR = 0 และค่า χ2 /df = 0) ค่าสัมประสิทธิ์น้ำหนักองค์ประกอบทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 0.514-0.930 ตัวแปรที่มีน้ำหนักองค์ประกอบสูงสุดคือ แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ รองลงมาคือ แรงจูงใจใฝ่อำนาจ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตามลำดับ 2. โมเดลปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการศึกษาของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 188.144 df = 126 p = 0.0003 CFI = 0.992 TLI= 0.991 RMSEA = 0.024 SRMR = 0.050 และค่า χ2 /df = 1.49) ตัวแปรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการศึกษาของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา ได้แก่ การมุ่งอนาคต และบรรยากาศในชั้นเรียน และความสัมพันธ์ทางสังคม มีอิทธิพลทางตรงต่อแรงจูงใจในการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนบรรยากาศในชั้นเรียน และความสัมพันธ์ทางสังคม มีขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมส่งผ่านการมุ่งอนาคต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนความรับผิดชอบไม่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการศึกษา ตัวแปรการมุ่งอนาคต บรรยากาศในชั้นเรียน และความสัมพันธ์ทางสังคม ร่วมกันทำนายแรงจูงใจในการศึกษาของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษาได้ ร้อยละ 72.00 |
URI: | https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/55 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Suparin_Wongcharee_res_2555.pdf | 911.35 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License