Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/15
Title: | ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลความเป็นเลิศทางการกีฬาของนักกีฬาในสถาบันการพลศึกษา |
Other Titles: | A Causal Multi-Level of factors Effectiveness in Influencing the Excellence in Sports of Athlete Under Institute of Physical Education |
Authors: | ประเสริฐศักดิ์ บุญศิริโรจน์ ศิรินธร จัตุชัย อารีย์ แก่นวงศ์คำ สุเทพ เมยไธสง |
Keywords: | ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับ ความเป็นเลิศทางการกีฬา นักกีฬา |
Issue Date: | 2013 |
Publisher: | สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ค้นหาปัจจัยระดับผู้บริหาร ปัจจัยระดับผู้ฝึกสอนกีฬา และปัจจัยระดับนักกีฬาที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลความเป็นเลิศทางการกีฬาของนักกีฬาในสถาบันการพลศึกษา (2) เพื่อสร้างโมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลความเป็นเลิศทางการกีฬาของนักกีฬาในสถาบันการพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้บริหารสถาบันผู้ฝึกสอนกีฬาและนักกีฬาในสถาบันการพลศึกษา ปีการศึกษา 2556 จำนวน 2,080 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นระหว่าง 0.767-0.815 จำนวน 13 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเส้นทางอิทธิพล (Path Analysis) โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.31 และโปรแกรม HLM 4.05 เพื่อวิเคราะห์พหุระดับ (Multi-Level Analysis) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ปัจจัยระดับผู้บริหารสถาบันพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง (Direct Effect) ต่อประสิทธิผลความเป็นเลิศทางการกีฬาของนักกีฬาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ วิสัยทัศน์ทางการกีฬา และพฤติกรรมการบริหารจัดการทางการกีฬา โดยมีสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient) เท่ากับ 0.52 และ 0.38 ตามลาดับ 2. ปัจจัยระดับผู้ฝึกสอนกีฬา (โค้ช) พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง (Direct Effect) ต่อประสิทธิผลความเป็นเลิศทางการกีฬาของนักกีฬา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ คุณภาพการฝึกทักษะกีฬาของผู้ฝึกสอนกีฬา และการวางแผนกลยุทธ์ทางการกีฬา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient) เท่ากับ 0.35 และ 0.34 ตามลำดับ 3. ปัจจัยระดับนักกีฬาพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง (Direct Effect) ต่อประสิทธิผลความเป็นเลิศทางการกีฬาของนักกีฬา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ ทางการกีฬา แรงจูงใจทางการกีฬา ความพร้อมการฝึกซ้อมกีฬา และความเข้มแข็งทางจิตใจ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient) เท่ากับ 0.52, 0.42, 0.38 และ 0.34 ตามลำดับ 4. ปัจจัยระดับผู้บริหารสถาบัน ได้แก่ ภาวะผู้นำทางการกีฬา บรรยากาศทางการกีฬา วิสัยทัศน์ทางการกีฬา และพฤติกรรมการบริหารจัดการทางการกีฬา สามารถร่วมกันอธิบายประสิทธิผลความเป็นเลิศทางการกีฬาของนักกีฬาได้ ร้อยละ 33.75 แสดงว่าปัจจัยระดับผู้บริหารสถาบัน การพลศึกษาสามารถนำไปเป็นตัวแปรอิสระเพื่อวิเคราะห์ตัวแปรตามในระดับผู้ฝึกสอนกีฬาได้ 5. ปัจจัยระดับผู้ฝึกสอนกีฬา (โค้ช) ได้แก่ ภาวะผู้นำทางการกีฬา คุณภาพการฝึกทักษะกีฬา ความผูกพันต่อองค์การ และการวางแผนกลยุทธ์ทางการกีฬา สามารถร่วมกันอธิบายประสิทธิผลความเป็นเลิศทางการกีฬาของนักกีฬาได้ ร้อยละ 45.11 แสดงว่าปัจจัยระดับผู้ฝึกสอนกีฬาสถาบันการพลศึกษาสามารถนำไปเป็นตัวแปรอิสระเพื่อวิเคราะห์ตัวแปรตามในระดับนักกีฬาได้ 6. ปัจจัยระดับนักกีฬา ได้แก่ ความเข้มแข็งทางจิตใจ แรงจูงใจทางการกีฬา เป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ทางการกีฬา และความพร้อมการฝึกซ้อมกีฬา ร่วมกันอธิบายประสิทธิผลความเป็นเลิศทางการกีฬาของนักกีฬาได้ ร้อยละ 54.33 แสดงว่าตัวแปรระดับนักกีฬา สามารถนาไปเป็นตัวแปรตามเพื่อวิเคราะห์ตัวแปรอิสระระดับผู้ฝึกสอนได้ |
URI: | https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/15 |
Appears in Collections: | รายงานการวิจัย |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prasertsak_Boonsiriroj_res_2556.pdf | 5.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License