Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/5
Title: | การศึกษาชีวกลศาสตร์เชิงคิเนเมติกส์ในการออกอาวุธในนักกีฬามวยไทย |
Other Titles: | The Biomechanical Kinematic Analysis of Delivery of Strikes in Muay Thai |
Authors: | ฉวีวรรณ สีสม |
Keywords: | มวยไทย การเตะ การตีเข่า การตีศอก การถีบ การชก |
Issue Date: | 2013 |
Publisher: | สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม |
Abstract: | มวยไทยเป็นกีฬาการต่อสู้และเป็นศิลปะป้องกันตัวประจำชาติไทย กีฬามวยไทยมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่หลากหลายนักกีฬาต้องมีทักษะและสมรรถภาพทางกายที่ดี อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาชีวกลศาสตร์เชิงคิเนเมติกส์การใช้ทักษะในนักมวยไทย โดยผลการศึกษาจะใช้ประยุกต์ในการเรียนรู้กีฬามวยไทยต่อไป วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเร็ว ความเร่ง มุมของทักษะการเตะ การชก การตีเข่า การตีศอกและการถีบ ในนักมวยไทย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : เก็บข้อมูลการเตะ การชก การตีศอก การีบ และการตีเข่า ของนักมวยไทย โดยใช้กล้องอินฟราเรดความเร็วสูง และใช้โปรแกรมวิเคราะห์การเคลื่อนไหวศึกษาตัวแปรดังกล่าว ผลการวิจัย: จากการวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์ ความเร็วของการเตะมีค่า 17.85 เมตร/วินาที ความเร่งของการเตะมีค่า 631.05 เมตร/วินาที2 มุมข้อต่อขณะกระทบ 173 องศา ความเร็วของการชกมีค่า 11.82 เมตร/วินาที ความเร่งของการเตะมีค่า 181.35 เมตร/วินาที2 มุมข้อต่อขณะกระทบ 170 องศา ความเร็วของการตีเข่ามีค่า 7.70 เมตร/วินาที ความเร่งของการเตะมีค่า 36.97 เมตร/วินาที2 มุมข้อต่อขณะกระทบ 41 องศา ความเร็วของการตีศอกมีค่า 10.36 เมตร/วินาที ความเร่งของการเตะมีค่า 123.52 เมตร/วินาที2 มุมข้อต่อขณะกระทบ 30 องศา ความเร็วของการถีบมีค่า 9.05 เมตร/วินาที ความเร่งของการเตะมีค่า 56.38 เมตร/วินาที2 มุมข้อต่อขณะกระทบ 168 องศา สรุปผล: ทักษะมวยไทยทั้ง 5 ทักษะ คือ การเตะ การชก การตีเข่า การตีศอกและการถีบ มีความเร็วสูงขณะกระทบคู่ต่อสู้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการบาดเจ็บ ดังนั้นการเล่นกีฬามวยไทยนักกีฬาต้องมีความพร้อมด้านร่างกายจึงจะเล่นกีฬามวยไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
URI: | https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/5 |
Appears in Collections: | รายงานการวิจัย |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chaweewan_Seesom_res_2556.pdf | 504.57 kB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License