กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/63
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์มุมและจําลองการทํางานไดนามิกส์ของข้อต่อ ในการวิ่งระยะสั้นของนักกรีฑาเยาวชนทีมชาติไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Analyze of Angle and the Simulation of Joint Dynamic of Sprint in Youth Athletes of Thailand Team
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญตา ค้าขาย
ยุพาพร สุวะไกร
คำสำคัญ: การจำลองการทำงานไดนามิกส์
การวิ่งระยะสั้น
การวิเคราะห์มุม
วันที่เผยแพร่: 2014
สำนักพิมพ์: สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มุมของการออกวิ่งระยะสั้น (100 เมตร) จากจุดเริ่มต้นและการจำลองการทำงานไดนามิกส์ของมุมเข่า มุมลำตัว มุมศีรษะ และมุมเท้า ของนักกรีฑาเยาวชนในโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักกรีฑาเยาวชนชายทีมชาติไทยในโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษาจำนวน 6 คน ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ กล้องถ่ายภาพนิ่ง ภาพการเคลื่อนที่ และโปรแกรมสำเร็จรูปการวัดมุม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย (X) ค่า Index of Qualitative Variation (IQV) การแยกแรงแนวตั้งและแนวราบตามหลักการแยกแรงของกลศาสตร์ (Mechanics) ผลการวิจัยพบว่า 1. มุมเข่าเท้านำ เมื่ออยู่ในท่าที่พร้อมจะออกวิ่ง ทำมุมเฉลี่ย 93.89 องศา และมีค่า IQV อยู่ในระดับน้อย 2. มุมเข่าเท้าตาม เมื่ออยู่ในท่าที่พร้อมจะออกวิ่ง ทำมุมเฉลี่ย 127.17 องศา และมีค่า IQV อยู่ในระดับน้อย 3. มุมลำตัว เมื่ออยู่ในท่าที่พร้อมจะออกวิ่ง ทำมุมเฉลี่ย 196.89 องศา และมีค่า IQV อยู่ในระดับปานกลาง 4. มุมศีรษะ เมื่ออยู่ในท่าพร้อมที่จะออกวิ่ง ทำมุมเฉลี่ย 42.67 องศา และมีค่า IQV อยู่ในระดับน้อย 5. มุมลำตัว ขณะพุ่งออกจากสตาร์ทติ้งบล็อก ทำมุมเฉลี่ย 44.11 องศา และมีค่า IQV อยู่ในระดับน้อย 6. มุมลำตัว ขณะวิ่งระยะทาง 10 เมตร (แรก) ทำมุมเฉลี่ย 65.50 องศา และมีค่า IQV อยู่ในระดับน้อย 7. มุมลำตัว ขณะวิ่งระยะทาง 30 เมตร (แรก) ทำมุมเฉลี่ย 74.00 องศา และมีค่า IQV อยู่ในระดับน้อย 8. ความเร็วในการวิ่ง 100 เมตร มีค่าเฉลี่ยความเร็ว 10.92 วินาที และมีค่า IQV อยู่ในระดับน้อย 9. ความเร่งในการวิ่ง 100 เมตร โดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.839 เมตร/(วินาที)2 และมีค่า IQV อยู่ในระดับน้อย 10. มุมของการก้าวเท้าหลัง (การวางปลายเท้าลงพื้น) ไม่ควรกว้างเกินไปหรือมากกว่า 60 องศา และมุมของการก้าวไปข้างหน้า (การวางปลายเท้าลงพื้น) ไม่ควรกว้างเกินไปหรือมากกว่า 60 องศา
URI: https://ir.tnsumk.ac.th/handle/123456789/63
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Boonta_Khakai_res_2557.pdf1.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons